การทำร่มกระดาษสา
การทำซี่ร่ม นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาตัดออกเป็นท่อนหรือปล้อง จากนั้นจึงค่อยตัดตามความยาวของซี่ร่มที่ต้องการ กล่าวคือ ถ้าเป็นซี่ร่มยาวก็ต้องตัดให้ได้ความยามเท่าร่มที่จะทำ จากนั้นใช้มีดขูดผิวไม้ไผ่ออกให้หมดทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรู โดยใช้มีดปาดบนลำไผ่ด้านบนให้เป็นแนวเดียวกันโดยตลอด
การร้อยดือ ที่ใช้สำหรับร้อยประกอบซี่ร่มยาวที่มัดกับหัวร่ม และซี่ร่มสั้นที่มัดกับตุ้มร่มเข้าด้วยกัน โดยใช้เข็มยาวร้อยด้ายระหว่างปลายซี่ร่มสั้นเข้ากับตรงกลางของปลายซี่ร่มยาวที่เจาะรูเตรียมไว้จนครบทุกซี่ ให้เหลือด้ายแต่ละข้าวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ไว้สำหรับผูกกับคันชั่วคราว การร้อยดือนี้ถือเป็นกลไกสำคัญในการทำให้ร่มกางออกและหุบเข้าได้
การผ่านโค้งร่ม คือ ขั้นตอนการพันเชือกบริเวณปลายซี่ร่มยาม โดยนำโครงร่มที่ผ่านการร้อยดือมาใส่คันร่มชั่วคราว จากนั้นจึงใสสลักไม้ตรงหัวร่มให้แน่น กางโครงร่มออกให้ซี่ร่มโค้งลงพอดี ผูปลายด้ายที่เหลือจากการร้อยซี่ร่มให้แน่น พยายามจัดช่องว่างระหว่างซี่ร่มให้เท่ากัน ใช้ด้ายพันที่ปลายซี่ยาม พันวนจนครบทุกซี่และพันขึ้นรอบใหม่จนครบ 3 รอบ
การทำกระดาษปิดโครงร่ม นำโครงร่มที่ผ่านขั้นตอนการผ่านโค้งร่มแล้วปักลงบนหลักไม้ไผ่ เพื่อที่จะหมุนติดกระดาษได้ง่าย จากนั้นทาน้ำมันตะโกหรือน้ำยามมะค่าลงตรงหลังซี่ร่มยาวให้ทั่ว ติดกระดาษสาที่ตัดเป็นรูปวงกลมทาบลงไปบนโครง แล้วทาน้ำมันตะโกหรือน้ำยางมค่าให้ชุ่ม ระวังอย่าให้เปียกแฉะจนเกินไป วางกระดาษสา (หรืออาจจะเป็นกระดาษชนิดอื่นที่เป็นกระดาษอ่อน ซี่งที่บ่อสร้างกำลังนิยมใช้กระดาษจีนกัน) อีกแผ่นหนึ่งที่ตัดเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้แล้วติดทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง กระดาษจะติดเป็นเนื้อเดียวกัน หากกระดาษสา 2 แผ่นยังหนาไม่พอก็ติดทับลงไปอีกแผ่นก็ได้โดยใช้วิธีเดียวกัน เมื่อติดกระดาษสาทับกันจนได้ความหนาตามต้องการแล้ว ก็นำกระดาษสามาปิดทับเส้นด้ายที่พันรอบซี่ร่มยาวให้เรียบร้อยโดยทาน้ำยางลงไปด้วย จากนั้นจึงค่อยนำไปผึ่งแดดตากลมจนแห้งสนิท
การทำคันร่ม คันร่มจะมีขนาดยาวกว่าซี่ร่มยาวเล็กน้อย กล่าวคือเว้นให้ยาวกว่าซี่ร่มยาวให้มือสามารถจับถือได้พอดี หรืออาจยาวกว่านั้นอีกสักเล็กน้อยก็ได้ คันร่มส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่ที่มีลำต้นขนาดเล็ก หรืออาจใช้ไม้เนื้ออ่อนก็ได้ โดยที่คันร่มนี้จะต้องเจาะรูสำหรับใส่ลวดสลักเพื่อใช้ยึดซี่ร่มไว้ด้วย ซึ่งลวดสลักนี้จะต้องอยู่ในตำแหน่งระยะที่ตรงกับตุ้มร่มเมื่อกางร่ม
การปิดหัวร่ม วัสดุที่นำมาปิดหัวร่มอาจใช้ใบลาน ใบตาล หรือกระดาษที่หนาสักหน่อย โดยนำมาตัดให้มีลักษณะเป็นปลอกไว้ที่หัวร่ม ตัดกระดาษสาเป็นริ้วยาวพันรอบหัวร่ม 3-4 รอบ ทาน้ำมันตะโกทับแล้วพันกระดาษสาทับอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เสร็จแล้วทาน้ำมันมะเดื่อตรงหัวร่มเพื่อให้กระดาษสาที่หุ้มอยู่มีความหนาเหนียวทนทาน
การเขียนลาย ใช้พู่กันจุ่มลงไปในสีน้ำมันแล้วนำมาเขียนลวดลายต่าง ๆ ลงไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวบวกกับความชำนาญ เขียนลายกันสด ๆ ไมต้องร่างหรือดูแบบเลย ร่มกระดาษสาในสมัยก่อนนิยมทาสีแดงและสีดำ ไม่มีการเขียนลายอย่างปัจจุบัน ที่มีทั้งลายดอกไม้ ทิวทัศน์ต่าง ๆ สัตว์ต่าง ๆ อย่างนก มังกร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น