ความเป็นมา ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
1.ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2.หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารภเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3.การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ๋ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
1.ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2.หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารภเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3.การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ๋ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
1. ถ้าพูดอย่างสรุปที่สุด เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นเจ้าของจำนวนที่ดินจำนวนน้อยแปลงเล็ก (ประมาณ 15 ไร่)
2. หลักสำคัญ ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวได้(self sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ต้อง มีความสามัคคีกันในท้องถิ่น
3. มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้
4. เพื่อการนี้ต้องใช้หลักว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ฉะนั้น 5 ไร่ ต้องมีน้ำ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไป จึงตั้งสูตรคร่าวๆว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย นา 5 ไร่ และพืชไร่และสวน 5 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ลึก 4 เมตร จุประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร (19,200) ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ 2 ไร่ รวมทั้งหมด 15 ไร่
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อตั้งศูนย์บริการที่วัดชัยมงคลพัฒนา และแปลงตัวอย่างที่ “ทางดิสโก้” สำเร็จแล้วเกษตรกรก็เริ่มเข้าใจวิธีการจึงขอให้ดำเนินการในที่ดินของตน เมื่อได้ผลักก็ต้องเริ่มขั้นที่สองคือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณีร่วมแรง
1. การผลิต ( พรรณพืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
2. การตลาด ( ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
5. การศึกษา(โรงเรียน ทุนการศึกษา)
6. สังคมและศาสนา
ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานราชการ มูลนธิ และเอกชน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน (บรษัทน้ำมัน) ตั้งและบริหารโรงสี (2) ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์ (1,3) ช่วยการลงทุน (1,2) ช่วยคุณภาพชีวิต (4,5,6) ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกร และฝ่ายธนาครและบริษัทจะได้รับประโยชน์ เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารกับบริษัทซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ ( ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง ) (2) เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ ( เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง) (1,3) ธนาคารกับบริษัท จะสามารถกระจายบุคคลากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น