วันอังคารที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย



ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ภูมิปัญญาฯประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนภูมิปัญญาอีกประเภท คือ ภูมิปัญญาฯประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนา พื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตรกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน เป็นต้น

1. ผลิตภัณฑ์ร่มกระดาษสาบ่อสร้าง จ. เชียงใหม่




ความเป็นมาของร่มบ่อสร้าง
ความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องการทำร่มกระดาษสาบ่อสร้างนั้นมีกาบอกเล่ากันมา 2 ทางด้วยกัน
เรื่องแรกก็คือ ในสมัยก่อนมีพระธุดงค์มาปักกลดกที่บ้านบ่อสร้าง แล้วกลดที่ปักไว้นั้นใช้การไม่ได้เนื่องจากมีลมพายุพัดแรงมาก ชายชราผู้หนึ่งชื่อเผือกได้ซ่อมแซมให้จนใช้ได้และได้นำมาเป็นตัวอย่างดัดแปลงทำร่มใช้ขึ้นในเวลาต่อมา
อีกเรื่องหนึ่งเล่าถึงที่มาของร่มบ่อสร้างว่า ประมาณกว่า 100 ปีมาแล้ว พระอินถาผู้เป็นภิกษุประจำสำนักสงฆ์วัดบ่อสร้างใด้ธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปยังที่ต่าง ๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์เข้าไปใกล้ชายแดนพม่าและมีชาวพม่านำกลดมาถวาย ด้วยความที่ท่านมีความสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ อยู่แล้ว รู้สึกชอบกลดที่ชาวบ้านนำมาถวายจึงสอบถามถึงที่มา ชาวพม่าที่นำกลดมาถวายได้เล่าให้ฟังว่า เมืองที่เขาอยู่นั้นมีการทำกลดกัน ท่านจึงเดินทางเข้าไปในเมืองพม่า แล้วได้เห็นจริงตามที่ชาวพม่าผู้นั้นบอก ท่านมีความเห็นว่ากลดซึ่งมีลักษณะเหมือนร่มนี้ใช้กันแดดกันฝนได้ ทำจากวัสดุที่หาง่าย และสามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวก
พระอินถาตั้งใจศึกษาฝึกฝนจนสามารถทำร่มหรือกลดชนิดนี้ได้ หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับมายังบ้านบ่อสร้างเพื่อเผยแพร่วิธีทำร่มโดยใช้วัดเป็นโรงเรียน ชาวบ้านก็สนใจมาเรียนการทำร่มกันจำนวนมาก โดยฝ่ายชายศึกษาเรื่องการทำโครงร่มโดยใช้ไม้บงหรือไม้ไผ่ ฝ่ายหญิงศึกษาเรื่องการทำกระดาษสาสำหรับใช้คลุมร่ม ไม่นานนักก็สามารถทำกันได้ จนกลายเป็นอาชีพหนึ่งรองจากการทำนา จึงเกิดเป็นหมู่บ้านทำร่มขึ้นมาโดยเฉพาะ จนบ่อสร้างมีชื่อเสียงในการทำร่มมาจึงถึงทุกวันนี้

การทำร่มกระดาษสา

การทำซี่ร่ม นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาตัดออกเป็นท่อนหรือปล้อง จากนั้นจึงค่อยตัดตามความยาวของซี่ร่มที่ต้องการ กล่าวคือ ถ้าเป็นซี่ร่มยาวก็ต้องตัดให้ได้ความยามเท่าร่มที่จะทำ จากนั้นใช้มีดขูดผิวไม้ไผ่ออกให้หมดทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรู โดยใช้มีดปาดบนลำไผ่ด้านบนให้เป็นแนวเดียวกันโดยตลอด
การร้อยดือ ที่ใช้สำหรับร้อยประกอบซี่ร่มยาวที่มัดกับหัวร่ม และซี่ร่มสั้นที่มัดกับตุ้มร่มเข้าด้วยกัน โดยใช้เข็มยาวร้อยด้ายระหว่างปลายซี่ร่มสั้นเข้ากับตรงกลางของปลายซี่ร่มยาวที่เจาะรูเตรียมไว้จนครบทุกซี่ ให้เหลือด้ายแต่ละข้าวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ไว้สำหรับผูกกับคันชั่วคราว การร้อยดือนี้ถือเป็นกลไกสำคัญในการทำให้ร่มกางออกและหุบเข้าได้
การผ่านโค้งร่ม คือ ขั้นตอนการพันเชือกบริเวณปลายซี่ร่มยาม โดยนำโครงร่มที่ผ่านการร้อยดือมาใส่คันร่มชั่วคราว จากนั้นจึงใสสลักไม้ตรงหัวร่มให้แน่น กางโครงร่มออกให้ซี่ร่มโค้งลงพอดี ผูปลายด้ายที่เหลือจากการร้อยซี่ร่มให้แน่น พยายามจัดช่องว่างระหว่างซี่ร่มให้เท่ากัน ใช้ด้ายพันที่ปลายซี่ยาม พันวนจนครบทุกซี่และพันขึ้นรอบใหม่จนครบ 3 รอบ
การทำกระดาษปิดโครงร่ม นำโครงร่มที่ผ่านขั้นตอนการผ่านโค้งร่มแล้วปักลงบนหลักไม้ไผ่ เพื่อที่จะหมุนติดกระดาษได้ง่าย จากนั้นทาน้ำมันตะโกหรือน้ำยามมะค่าลงตรงหลังซี่ร่มยาวให้ทั่ว ติดกระดาษสาที่ตัดเป็นรูปวงกลมทาบลงไปบนโครง แล้วทาน้ำมันตะโกหรือน้ำยางมค่าให้ชุ่ม ระวังอย่าให้เปียกแฉะจนเกินไป วางกระดาษสา (หรืออาจจะเป็นกระดาษชนิดอื่นที่เป็นกระดาษอ่อน ซี่งที่บ่อสร้างกำลังนิยมใช้กระดาษจีนกัน) อีกแผ่นหนึ่งที่ตัดเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้แล้วติดทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง กระดาษจะติดเป็นเนื้อเดียวกัน หากกระดาษสา 2 แผ่นยังหนาไม่พอก็ติดทับลงไปอีกแผ่นก็ได้โดยใช้วิธีเดียวกัน เมื่อติดกระดาษสาทับกันจนได้ความหนาตามต้องการแล้ว ก็นำกระดาษสามาปิดทับเส้นด้ายที่พันรอบซี่ร่มยาวให้เรียบร้อยโดยทาน้ำยางลงไปด้วย จากนั้นจึงค่อยนำไปผึ่งแดดตากลมจนแห้งสนิท
การทำคันร่ม คันร่มจะมีขนาดยาวกว่าซี่ร่มยาวเล็กน้อย กล่าวคือเว้นให้ยาวกว่าซี่ร่มยาวให้มือสามารถจับถือได้พอดี หรืออาจยาวกว่านั้นอีกสักเล็กน้อยก็ได้ คันร่มส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่ที่มีลำต้นขนาดเล็ก หรืออาจใช้ไม้เนื้ออ่อนก็ได้ โดยที่คันร่มนี้จะต้องเจาะรูสำหรับใส่ลวดสลักเพื่อใช้ยึดซี่ร่มไว้ด้วย ซึ่งลวดสลักนี้จะต้องอยู่ในตำแหน่งระยะที่ตรงกับตุ้มร่มเมื่อกางร่ม
การปิดหัวร่ม วัสดุที่นำมาปิดหัวร่มอาจใช้ใบลาน ใบตาล หรือกระดาษที่หนาสักหน่อย โดยนำมาตัดให้มีลักษณะเป็นปลอกไว้ที่หัวร่ม ตัดกระดาษสาเป็นริ้วยาวพันรอบหัวร่ม 3-4 รอบ ทาน้ำมันตะโกทับแล้วพันกระดาษสาทับอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เสร็จแล้วทาน้ำมันมะเดื่อตรงหัวร่มเพื่อให้กระดาษสาที่หุ้มอยู่มีความหนาเหนียวทนทาน
การเขียนลาย ใช้พู่กันจุ่มลงไปในสีน้ำมันแล้วนำมาเขียนลวดลายต่าง ๆ ลงไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวบวกกับความชำนาญ เขียนลายกันสด ๆ ไมต้องร่างหรือดูแบบเลย ร่มกระดาษสาในสมัยก่อนนิยมทาสีแดงและสีดำ ไม่มีการเขียนลายอย่างปัจจุบัน ที่มีทั้งลายดอกไม้ ทิวทัศน์ต่าง ๆ สัตว์ต่าง ๆ อย่างนก มังกร ฯลฯ

2. ผลิตภัณฑ์ธูปหอมอัมพวัน จ. ตาก



ประวัติความเป็นมาของธูปหอมอัมพวัน
จากภูมิปัญญาไทยแต่โบราณที่ถ่ายทอดวิธีการทำธูป มาสู่การออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ ให้เกิดความสวยงามหลากหลายรูปแบบ ผลิตด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติคุณภาพสูง มีกลิ่นหอม ใช้สีผสมอาหารในการทำสี


กระบวนการขั้นตอนการผลิตธูปหอม
1.นำจันทร์ขาว+จันทร์แดง ในอัตราส่วน 8 ต่อ 1

2.ใส่น้ำแล้วนวด
3.กดลงในแบบพิมพ์
4.ออกจากแบบพิมพ์วางในตะแกรง
5.ตากแดดให้แห้ง 5-7 วัน
6.เติมน้ำหอมและสีในอ่างแอลกอฮอล์
7.นำชิ้นงานที่แห้งลงชุบ8.สะเด็ดน้ำ

3. ผลิตภัณฑ์ผ้าตีนจก จ.เชียงใหม่


ประวัติความเป็นมาของผ้าตีนจกเชียงใหม่

การศึกษาความเป็นมาและลวดลายผ้าโบราณมักมีข้อจำกัดในเรื่องของหลักฐานที่จะใช้ในการศึกษาทำให้การศึกษา ทำได้เท่าที่ยังสามารถสืบค้นข้อมูลจากบุคคลที่ยังเหลืออยู่และหลักฐานที่ยังสามารถเก็บรักษาต่อกันมาได้ เท่านั้น สำหรับชุมชนแม่แจ่มหลักฐานที่มีอยู่จึงจำกัดขอบเขตอยู่ในช่วง ไม่เกิน 200 ปี ที่ผ่านมา โดยมีหลักฐานซิ่นตีนจกรุ่นอายุ 30 ปีขึ้นไปผ้าจกต่างๆภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดป่าแดดและจากการสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้สูงอายุในชุมชน เจ้าของผ้าตีนจกประเภทต่างๆ ตลอดจนการค้นคว้าจากเอกสารหนังสือและภาพถ่าย นอกจากนี้ความเป็นมาหรือประวัติศาสตร์ของชุมชนแม่แจ่มเองที่อาจศึกษาได้ทั้งในด้านหลักฐาน ทางโบราณคดี ศิลปทางสถาปัตยกรรมที่มีอยู่เอกสารตำราต่างๆรวมทั้งสังคมวัฒนธรรมชุมชนเป็นจุดซึ่งน่าสนใจ อาจทำให้มองเห็นแง่มุมพัฒนาการของสังคมและชุมชนซึ่งน่าจะสอดคล้องกับงานศิลป ของชุมชนด้วย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพอจะกล่าวถึงความเป็นมาของแม่แจ่มได้เป็นช่วงๆ

ประเภทและความสำคัญของผ้าตีนจก

จก เป็นเทคนิคการทำลวดลาายบนผืนผ้าบนเส้นพุ่งด้วย วิธีการสอดด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ โดยใช้ขนเม่น หรือไม้ช่วยในการจกหรือควักเส้นด้ายขึ้นมาบนเนื้อผ้าที่ทออยู่การจกเป็นการสร้างลวดลายที่สามารถใช้ฝ้ายได้หลากหลาย สีในลวดลายต่างๆ ที่ทำขึ้น ผ้าแม่แจ่ม จะใช้เทคนิคนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยคว่ำหน้าผ้าลงกับกี่ที่ทอซึ่งทำให้สามารถเก็บเงื่อน หรือปมฝ้ายได้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่หลุดง่าย รวมทั้งลวดลายที่เกิดขึ้นด้านหลังของลายซึ่งอยู่ด้านบนของกี่นี้ มีความสวยงามไม่แพ้ด้านหน้า ซิ่นแม่แจ่มจึงสามารถนุ่งได้ 2 ด้าน
ประเภทของผ้าตีนจก

1. ลายในผ้าตีนจก
2. ลายในหน้าหมอน
3. ลายในตุง
4. ลายในผ้าปูที่นอน

วัสดุในการทำ

วัสดุเดิมนั้นมีการผลูกฝ้ายใช้เองในหมู่บ้านชาวบ้านจะนำเมล็ดฝ้ายมาผ่านกรรมวิธีรีดปั่นกรอเป็นเส้นเพื่อจะนำมาทอเป็นะเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งรวมถึงการนำมาเป็นวัตถุดิบในการทอซิ่นตีนจกนี้ด้วยโดยนำมาย้อมเป็นสีต่างๆตามต้องการแล้วใช้เป็นเส้นจกทำลวดลายและให้สีตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีการใช้วัสดุชนิดอื่น เช่น เส้นเงิน เส้นทอง เส้นทองแดง โดยนำเอาวัสดุเหล่านี้มาตีรีดเป็นเส้นแล้วนำมาจกร่วมกับฝ้ายเป็นการเพิ่มความสวยงามและความพิเศษให้กับซิ่นผืนนั้น เช่น ใช้เส้นทองคำขาวเรียก " ตาดขาว " ใช้เส้นทองคำเรียก " ตาดทอง " ใช้เส้นเงินเรียก " ตาดเงิน " แต่ถ้าปริมาณฝ้ายมากกว่าเส้นตาดจนมองคล้ายเป็นการแซมด้วยตราดจะเรียก "ฝ้ายระกำ" ในปัจจุบันชาวบ้านเลิกปลูกฝ้ายจึงมีการซื้อฝ้ายสำเร็จที่ทำเป็นมัด ๆ ย้อมสีต่าง ๆ มาใช้แต่ละมัด เรียกเป็น 1 ต๊ก ซิ่น 1 ผืน จะใช้ประมาณ 8 ต๊กราคา ต๊กละ 8 บาท ที่เป็นที่นิยมคือด้ายโทเร วัสดุอื่นที่มีใช้กันบ้างในปัจจุบัน เช่น ไหมพรม ไหมญี่ปุ่น มีใช้บ้างแต่ ไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก

วิธีทำผ้าตีนจก



1. จกแม่แจ่มเป็นการทอ 2 ท้องคือการทอด้วยกระสวย 2 ตัวบรรจุด้ายตัวละสีพุ่งเข้าหากันตรงกลางแล้วไขว้เส้นด้ายกันก่อนพุ่งกลับ กระสวยทั้ง 2 ตัวนี้บรรจุด้ายสี ดำ และสีแดง ทำให้ทอ ได้ผ้าสีแดงและดำในผืนเดียวกัน ส่วนที่เป็น ช่วงลาย ส่วนที่เป็นสีแดงจะปล่อยเป็นเชิง ปัจจุบันการทอ 2 ท้องนี้ไม่ค่อยพบมักเป็นการทอธรรมดาเป็นส่วนใหญ่
2. เป็นการทอจากด้านหลังมาด้านหน้าวิธีนี้ทำให้ผู้ทอสามารถเก็บขายด้ายจกได้ง่ายจึงดูเป็นระเบียบสวยงามกว่าจกที่อื่นเช่น จกหหาดเลี้ยว จกลับแล
3. เมื่อจกครบแถวผู้ทอจะพุ่งกระสวยเพียง1ครั้งแล้วตีฟืมจกที่อื่นมักพุ่งกระสวยไปกลับ2ครั้งลายจึงห่างกว่าจกแม่แจ่ม ที่ตีลายแน่นดูทึบกว่า
http://www.yupparaj.ac.th/web2001/st06/page4.htm

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1

ข้อ 1 จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง

ตอบ - เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวคิดใหม่ๆมาใช้ หรือประยุกต์ใช้อย่าง มีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฎิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้ เช่น การสอนแบบโปรแกรม เป็นต้น

ข้อ 2 จงยกตัวอย่างเทคโนโลยี และนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา

ตอบ 1. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
2. เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
3. เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
4. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology)
5. เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)

ข้อ 3 จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ และทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน

ตอบ - ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ : เทคโนโลยีในทัศนะนี้จะมุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลผลิตทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฎิสัมพันธ์อื่นๆเพราะเก็นว่าการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นเทคโนโลยีทางเครื่องมือเกิดขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ : เทคโนโลยีในทัศนะนี้จะมุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญโดยมองที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงสนใจในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการนำความรู้ทั้งหลายมาใช้ควบคู่กับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์หรือวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 4 จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ระดับ

ตอบ ความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคล ใน 3 ระดับ ดังนี้
1.บุคคลธรรมดาสามัญ ให้ความหมายว่า การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2.บุคคลในวิชาชีพการศึกษา ให้ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีตซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฎิบัติ
3.บุคคลที่เป็นนักการศึกษา
- ในทัศนะแนวสังคมนิยม ให้ความหมายว่า การศึกษาคือการปรับตัวเข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฎิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบทำเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงรวมกันเป็นแนวทางเดียวกันเสมอ
- ในทัศนะเสรีนิยม ให้ความหมายว่า การสึกษาคือการมุ่งพัฒนาบุคลแต่ละให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมในอนาคต

ข้อ 5 เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ

ตอบ เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เป็นการเพิ่มสัมผัสจากการใช้หูฟังครูเพียงอย่างเดียว ให้มีสัมผัสหลายทาง โดยการใช้ภาพใช้เสียงจริง หรือวัสดุจำลอง เป็นต้น
2. ระดับวิธีสอน เป็นใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่เดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่น การสอนทางไกลโดยใช้วิทยุโทรทัศน์ การใช้เทคโนโลยีระดับนี้มีผลดีในเรื่องของการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศที่ดี แต่มีผลเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง ๆ ตอบสนองต่อผู้เรียนได้เป็นจำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งจะมีผู้เรียนจำนวนมาก แต่จะไม่เห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยีระดับนี้นับเป็นพื้นฐานในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในปัจจุบัน

ข้อ 6 จงอธิบายข้อแตกต่าง และความสัมพันธิ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน

ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด และการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ข้อ 7 จงบอกขึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง

ตอบ 1.ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2.ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง(Pilot Project)
3.ขั้นการนำไปใช้ หรือ ปฏิบัติจริง(Innovation)

ข้อ 8 จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ

ตอบ 1. ช่วยให้ผู้เรียน เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจอย่างสมบูรณ์
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลองค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอนให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาพิเศษ เป็นต้น

ข้อ 9 จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด

ตอบ 1. ชุดการเรียนการสอน
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
3. การเรียนการสอนทางไกล

ข้อ 10 จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ

ตอบ 1. การเพิ่มจำนวนประชากร : เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู เป็นต้น ทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง หากรัฐจะสร้างอาคารเรียน หรือ ส่งครูไปให้เพียงพอและทั่วถึงคงจะทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณมาก แนวทางที่เป็นไปได้ในการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น บทเรียนสำเร็จรูป เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม : เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากรโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงให้พ้นกับเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในสังคมได้อย่างมีความสุข และก้าวหน้าต่อไป
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ : การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาหลักสูตร เนื้อหา และวิธีสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ รวมทั้งยึดทฤษฎีต่าง ๆ เป็นหลัก และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญด้วย

ข้อ 11 จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 3 ข้อ

ตอบ 1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย

ข้อ 12 จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของไทยอย่างน้อย 3 ประการ

ตอบ 1. ขาดการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นหมู่คณะอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางแก้ไข : จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการเน้นการทำกิจกรรมกลุ่ม โดยให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันคิดร่วมกันทำกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้างานไม่สำเร็จลุล่วงจะไม่มีการโทษคนใดคนหนึ่งในกลุ่มแต่ทุก ๆ คนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน และครูจะต้องอธิบายเสริมในส่วนที่เป็นแง่ดีของการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวมอีกด้วย
2. ขาดความกล้าและแสดงความคิดเห็น
แนวทางแก้ไข : จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ให้นักเรียนช่วยกันหาคำอธิบาย หาคำตอบ ข้อเท็จจริง ผลดี ผลเสีย หรือผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นโดยเรื่องที่ยกมาเป็นหัวข้ออาจจะเป็นได้ทั้งเรื่องใกล้ตัว ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ เพื่อจะได้ให้เด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่หลากหลายพัฒนาความกล้าพูดกล้าคิดของเด็กได้
3. ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
แนวทางแก้ไข : นอกเหนือจากการสอน และการอธิบายแบบทฤษฎีไปแล้ว ครูควรจะมีกิจกรรม หรือสถานการณ์ให้เด็กปฏิบัติจริงควบคู่กันไปด้วยเสมอ เพราะการสอน และอธิบายโดยให้เด็กเป็นแค่ผู้รับฟังเพียงอย่างเดียว จะไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อตัวเด็กเลย ซึ่งในเรื่องของความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญกับชีวิตของเด็ก ๆ ทุกคนที่จะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

ข้อ 1 คำว่า Communis แปลว่า

ตอบ คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน

ข้อ 2 การสื่อความหมาย หมายถึง

ตอบ การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด
ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลที่เป็นฝ่ายผู้ส่งไปยังฝ่ายผู้รับ

ข้อ 3 โครงสร้างของกระบวนการสื่อความหมาย

ตอบ ประกอบด้วย Sender , Message , Channel , Reciever

ข้อ 4 สาร หมายถึง

ตอบ สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด

ข้อ 5 Elements หมายถึง

ตอบ Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานของสารที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ เป็นต้น

ข้อ 6 Structure หมายถึง

ตอบ Structure หมายถึง โครงสร้างของสารของเกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค สีสัน รูปร่าง เป็นต้น

ข้อ 7 Content หมายถึง

ตอบ Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนในการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แต่งต่างกัน
ตัวอย่าง เช่น จัดงานปีใหม่ , ของขวัญ , เค้ก เป็นต้น

ข้อ 8 Treatment หมายถึง

ตอบ Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ส่งแต่ละคนจะมีวิธีการ หรือเทคนิคเฉพาะตัว
ตัวอย่าง เช่น วิธีการจัดงานปีใหม่ , วิธีห่อของขวัญ , วิธีทำขนมเค้ก เป็นต้น

ข้อ 9 code หมายถึง

ตอบ Code หมายถึง รหัส หรือสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสื่อสาร
ตัวอย่าง เช่น ความรู้สึก , ความต้องการ , รูปภาพ เป็นต้น

ข้อ 10 อุปรรค หรือสิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่อะไร

ตอบ อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน – หนาว เกินไป กลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นต้น

ข้อ 11 อุปสรรค หรือ สิ่งรบกวนภายในได้แก่อะไร

ตอบ อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด , ความกังวลใจ , อาการเจ็บป่วย , ไม่สบาย เป็นต้น

ข้อ 12 Encode หมายถึง

ตอบ Encode หมายถึง การเข้ารหัส คือ การแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์ หรือสัญญาณต่าง ๆ ได้

วันอาทิตย์ที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อ 13 Decode หมายถึง

ตอบ Decode หมายถึง การถอดรหัส คือ การแปลความหมายของสัญลักษณ์ หรือสัญญาณจากผู้ส่งได้อย่างเข้าใจ และถูกต้อง

ข้อ 14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง

ตอบ
1) ครู ซึ่งเป็นผู้ส่ง และผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูควรมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2) เนื้อหา / หลักสูตรตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครูจะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะสมกับวัยและเพศของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสิ่งต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลาควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3) สื่อ / ช่องทาง เป็นตัวกลางที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ผู้เรียน สื่อควรมีลักษณะดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4) นักเรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายโดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติที่ดีต่อครูและเนื้อหาวิชา

ข้อ 15 จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน

ตอบ -ความล้มเหลวในกระบวนการสอนเกิดมาจากสาเหตุดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนสอน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยกาศขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำและเนื้อหา
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่องและกระโดดไปมา
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน